Reels กับ Stories คืออะไร ? ต่างกันอย่างไร ? มีตารางเปรียบเทียบ
Reels กับ Stories ต่างกันยังไง ?
ตั้งแต่ โซเชียลมีเดีย (Social Media) ได้ถือกำเนิดขึ้นมา มันก็ได้เข้ามาเปลี่ยนวิถีการสื่อสารบนโลก อินเทอร์เน็ต (Internet) ของมนุษย์ให้เปลี่ยนไปจากเดิม แพลตฟอร์มอย่าง Instagram จากเดิมที่เป็นเพียงพื้นที่อวดรูป ก็ได้เพิ่ม 2 คุณสมบัติใหม่เข้ามา นั่นก็คือ รีลส์ (Reels) กับ สตอรี่ (Stories) นั่นเอง
- Viral Marketing คืออะไร ? รู้จักการตลาดแบบปากต่อปาก ชนิดไฟลามทุ่ง กัน
- Cyberbullying คืออะไร ? รู้ได้ไงว่ากำลังโดนกลั่นแกล้งอยู่ ? พร้อมวิธีรับมือ
- อาชีพ Influencer ดีจริงหรือไม่ ? ดู 7 ปัจจัยหลักที่ควรคำนึงก่อนเป็น
- Comment Marketing คืออะไร ? รู้จักการตลาดแบบปลิง และสิ่งที่ควร-ไม่ควรทำ
- Elon Musk กับ Mark Zuckerburg อยากต่อยกันทำไม ? ทะเลาะอะไรกันหรือเปล่า ?
โดยทั้งคู่เป็นพื้นที่สำหรับแบ่งปันวิดีโอสั้น ๆ อนึ่ง ด้วยความที่ Facebook เป็นเจ้าของ Instagram ด้วย การสร้าง Reels และ Stories จึงสามารถแชร์ข้ามแพลตฟอร์มร่วมกันได้ด้วย ไม่ว่าคุณจะอัปโหลดมันจากแพลตฟอร์มใดก็ตาม
คำถามที่หลายคนอาจยังไม่รู้คำตอบคือ Reels และ Stories มันต่างกันอย่างไร ? เพราะหากมองอย่างผิวเผินมันก็คล้ายคลึงกัน แต่อันที่จริง มันแตกต่างกันนะ ซึ่งเราจะมาอธิบายในบทความนี้
Stories คืออะไร ? (What is Stories ?)
Stories เป็นวิดีโอ หรือสไลด์โชว์ที่มีอายุการรับชมสั้น โดยเราสามารถกดดู Stories ได้ผ่านรูปโปรไฟล์ของ Instagram ที่เราบอกว่ามันมีอายุการรับชมสั้น นั่นก็เพราะว่ามันเปิดให้คนคลิกชมได้เพียง 24 ชั่วโมง เท่านั้น หลังจากนั้น Stories ดังกล่าวจะถูกเก็บเป็น Archived
นอกจากนี้ ในด้านการแก้ไข ปรับแต่งวิดีโอของ Stories หากเทียบกับ Reels แล้วก็จะทำได้น้อยกว่า และความยาวของวิดีโอก็จะถูกจำกัดเอาไว้ที่สูงสุดเพียง 15 วินาที เท่านั้น
ไอเดียหลักของ Stories คือ เป็นพื้นที่สำหรับใช้บอกเล่าเรื่องราวประจำวันของผู้ใช้งาน หรือของแบรนด์
และอย่างที่เราได้บอกไปแล้วว่า Stories นั้นสามารถกดรับชมได้ง่าย ๆ ผ่านรูปโปรไฟล์ของ Instagram และถูกแสดงที่ด้านบนสุดของหน้าจอหลักของ Instagram และ Facebook เวลาที่เปิดแอปพลิเคชันเป็นครั้งแรก ทำให้มันมีโอกาสในการถูกมองเห็นได้ง่ายกว่า Reels มาก
นอกจากนี้ Stories ยังรองรับการสื่อสารเชิงโต้ตอบ (Interactive) อย่างเช่น การทำโพลสำรวจ, นับถอยหลัง, แปะลิงก์ ฯลฯ เพื่อช่วยให้เกิดการสร้าง Engage กับผู้ติดตาม
ภาพจาก : https://www.socialpilot.co/blog/instagram-Reels-vs-Stories
จุดประสงค์ในการใช้ Stories
- รักษาความสัมพันธ์กับผู้ติดตาม สร้างความเคลื่อนไหว ไม่ให้รู้สึกว่าคุณหายไป
- แนะนำสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
Reels คืออะไร ? (What is Reels ?)
Reels ก็เป็นวิดีโอสั้นเช่นกัน แต่มีแนวคิดที่เน้นหนักไปที่วิดีโอด้านความบันเทิงเป็นหลัก (เพราะมันถูกสร้างมาเพื่อแข่งขันกับ TikTok) แม้จะบอกว่าเป็นวิดีโอสั้น แต่ว่า Reels อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถอัปโหลดวิดีโอได้นานกว่า โดยรองรับสูงถึง 90 วินาที และมันจะคงอยู่ตลอด ไม่ได้หายไปภายใน 24 ชั่วโมง เหมือนกับ Stories
ธรรมชาติของ Reels ก็มีความแตกต่างกับ Stories ที่เป็นคลิปเรียบง่าย โดยวิดีโอของ Reels มักจะมีการวางแผนในการถ่ายทำ และมีการตัดต่อที่ละเอียดกว่า ซึ่งเครื่องมือแก้ไขวิดีโอของ Reels ก็ทำได้ละเอียดกว่า Stories ด้วยเช่นกัน
สิทธิ์ในการมองเห็น ก็เป็นอีกจุดแตกต่างสำคัญระหว่าง Reels กับ Stories โดย Stories จะสามารถมองเห็นได้เฉพาะผู้ติดตาม หรือคนที่มีสิทธิ์เข้าชมโปรไฟล์สาธารณะของคุณเท่านั้น แต่ว่า Reels นั้นจะเป็นวิดีโอสาธารณะที่ทุกคนสามารถมองเห็นได้ ถ้าหากว่าวิดีโอ Reels ของคุณเกิดไวรัลขึ้นมา ยอด Engagement และผู้ติดตามของคุณจะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล
จุดประสงค์ในการใช้ Reels
- เพิ่มยอด Engangement โดยรวมให้สูงยิ่งขึ้นกว่าเดิม
- เพิ่มยอดผู้ติดตามใหม่ ๆ
- ต้องการสร้างไวรัล
ความแตกต่างระหว่าง Reels กับ Stories (What is the difference between Reels and Stories ?)
ประเภทของเนื้อหา
Stories จะแสดงผลในรูปแบบของคลิปวิดีโอสั้น แต่การสร้างมันไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นวิดีโอเสมอไป สามารถทำเป็นอัลบัมรูป, ภาพนิ่ง หรือจากโพสต์เก่าในอดีตก็ได้ รวมถึงการใส่โพล, สติกเกอร์, การนับถอยหลัง หรือลิงก์ลงไปใน Stories เพื่อเชิญชวนให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ ก่อเป็นกระแสตอบรับจากผู้ชมได้
และถึงแม้ว่า Stories จะมีอายุเพียง 24 ชั่วโมง แต่เราก็สามารถทำให้มันอยู่แบบถาวรผูกติดกับโปรไฟล์ได้ด้วยการบันทึกค่าให้มันเป็น "Hilights"
ส่วน Reels จะเป็นเนื้อหาที่เน้นไปที่วิดีโอสั้นแบบแนวตั้ง ที่เมื่ออัปโหลดแล้วจะถูกบันทึกไว้แบบถาวร การรับชมจะทำผ่านแท็บ Reels เป็นหลัก
ความยาว
Reels สามารถอัปโหลดวิดีโอได้ยาวถึง 90 วินาที หากเทียบกับ Stories ที่อัปโหลดได้แต่ 15 วินาที นั้นก็แตกต่างกันถึง 6 เท่า ซึ่งนั่นมีผลต่อวิธีการเล่าเรื่อง และแนวทางการถ่ายทำเป็นอย่างมาก
การมองเห็น
Stories จะกดรับชมได้จากการคลิกที่หน้าโปรไฟล์ และแสดงในหน้าแรกของคนที่เป็นผู้ติดตาม หรือเพื่อนเท่านั้น มันมองเห็นได้ง่ายกว่าก็จริง แต่ก็จะมีข้อจำกัดในการขยายฐานผู้ชมในวงกว้าง
ในขณะที่ Reels จะเป็นวิดีโอสาธารณะที่ทุกคนสามารถมองเห็นได้ ผู้คนที่สนใจอาจจะค้นหาเจอคลิปวิดีโอของคุณได้ผ่านระบบ Hashtags, Audio library หรือจากหน้า Explore feed แบรนด์ต่าง ๆ ที่ต้องการขยายฐานแฟนคลับ จึงนิยมใช้ Reels เป็นอีกหนึ่งช่องทางโฆษณา
ภาพจาก : https://www.socialinsider.io/blog/view-rate-of-instagram-Reels-vs-stories/
เครื่องมือแก้ไข
ทั้ง Reels และ Stories ต่างก็มีเครื่องมือแก้ไขวิดีโอมาให้ผู้ใช้ได้ทำการปรับแต่งง่าย ๆ แต่ว่าทาง Reels จะให้เครื่องมือที่มีความซับซ้อนมากกว่า เช่น การเชื่อมวิดีโอ, ซูม, ปรับแต่งทรานซิชัน, ฉากเขียว, วิดีโอเลย์เอาท์ ฯลฯ ในขณะที่ Stories จะทำได้แค่การแก้ไขเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น
เพลง
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการใส่เพลงเป็นลูกเล่นหลักที่ทุกคนชื่นชอบ สำหรับ Stories เราทำได้แค่การใส่สติกเกอร์เพลงลงไป แล้วค้นหาเพลงที่ชอบ ในขณะที่ Reels จะมีตัวเลือกที่ยืดหยุ่นกว่ามาก
ใน Reels จะมีเพลงที่กำลังได้รับความนิยมให้เลือก, บันทึกเพลงที่ชอบเอาไว้ใช้ภายหลังได้, ใส่หลายเพลงลงไปในคลิปเดียว และรองรับการใส่เสียงพากย์ได้ด้วย
เค้าร่าง
Stories นั้นเป็นคลิปแบบมาไวไปไว ถ่ายง่าย ๆ แล้วอัปโหลดทันที การบันทึกเค้าร่าง (Drafts) จึงไม่มีให้ใช้ นอกจากจะสร้างด้วยแอปพลิเคชันอื่น
ในขณะที่ Reels ผู้ใช้จะสามารถบันทึกเค้าร่างเอาไว้ได้ สามารถมาเปิดแก้ไขในภายหลัง
แคปชัน
Stories ไม่รองรับการใส่แคปชัน (Caption) แต่สามารถใส่ข้อความลงไปในคลิปได้เลย หรือการ Reactions ไปยัง Stories ซึ่งส่งผลดีต่อการสร้าง Engagement
ส่วน Reels จะรองรับการใส่แคปชันได้สูงสุด 2,200 ตัวอักษร เหมือนกับการสร้างโพสต์ขึ้นมาเลย ทำให้รองรับการใส่ Hashtags และการ Mentions ช่วยให้ง่ายต่อการถูกค้นพบจากผู้ใช้รายอื่น ๆ
Hashtags
ในส่วนของการใส่ Hashtags นั้น Stories รองรับการใส่ได้สูงสุด 10 Hashtags เท่านั้น การใส่จึงต้องเลือกอย่างระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการหลอกให้ผู้ชมคลิกเข้ามาชมเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องกับ Hashtags
ส่วน Reels นั้น สามารถใส่ได้สูงสุดถึง 30 Hashtags และผู้คนมักจะคลิกที่ Hashtags เมื่อต้องการค้นหาวิดีโอใหม่ ๆ การนอกเรื่องไปบ้างจึงสามารถทำได้ในโอกาสที่เหมาะสม
ตารางเปรียบเทียบ Reels กับ Stories (Reels and Stories Comparison Table)
Reels | Stories | |
ความยาว | สูงสุด 90 วินาที | สูงสุด 15 วินาที |
รูปแบบ | วิ | ดี โอ รูป, วิดีโอ และโพสต์จาก Feed |
แคปชัน | รองรับ | ไม่ร องรับ |
แฮชแท็ก | สูงสุด 30 แฮชแท็ก | สูงสุด 10 | แฮชแท็ก
การมีส่วนร่วม (Engagement) | การคอมเมนต์ | ข้อความตรง |
อายุวิดีโอ | จนกว่าจะลบ | 24 ชั่วโมง |
การแก้ไขวิดีโอ | ทำได้ละเอียด | ทำได้เล็กน้อย |
เค้าร่าง | รองรับ | ไม่รองรับ |
การแบ่งปันเนื้อหา | เป็นสาธารณะ ทุกคนเข้าชมได้ | เฉพาะเพื่อน และผู้ติดตาม |
สุดท้ายแล้ว จะใช้ Reels หรือ Stories ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะมันทำงานแตกต่างกัน เราสามารถใช้งานมันไปด้วยกันทั้งคู่ได้เลย